หนองในเทียม (Chlamydia) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นจากการรับเชื้อแบคทีเรียผ่านจากคู่นอนที่ติดเชื้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมูกใสหรือหนองที่บริเวณอวัยวะเพศ หนองในเทียมอาจไม่ปรากฏอาการที่ชัดเจนในผู้ป่วยบางราย และเป็นโรคที่พบมากในวัยรุ่น สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิง
หนองในเทียมและหนองในแท้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียคนละชนิด หนองในแท้เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไนซีเรีย โกโนเรียอี (Neisseria Gorrhoese) โดยที่หนองในทั้ง 2 ชนิดจะแสดงอาการคล้ายกัน แต่หนองในเทียมมักไม่ค่อยมีอาการหรือมีอาการรุนแรงน้อยกว่า และมีระยะการฟักตัวของเชื้อแบคทีเรียนานกว่าหนองในแท้
สาเหตุของหนองในเทียม
หนองในเทียมเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลามัยเดียทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ เชื้อสามารถแพร่ติดต่อได้หลายทาง เช่น ทางอวัยวะเพศ ทางทวารหนัก ทางปาก หรือแม้กระทั่งทางตา หากมีสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ติดเชื้อกระเด็นใส่ รวมไปถึงการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะตั้งครรภ์
ในปี พ.ศ. 2555 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข มีรายงานผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จำนวนทั้งสิ้น 32,972 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยหนองในเทียมจำนวน 2,270 ราย มากเป็นอันดับ 3 รองจากหนองในจำนวน 7,312 ราย และเริมที่อวัยวะเพศจำนวน 2,619 ราย
อาการของหนองในเทียม
อาการของหนองในเทียม ในช่วงแรกอาจจะยังไม่แสดงอาการให้พบเห็น หลังได้รับเชื้อแล้วในระยะเวลา 1-3 สัปดาห์ จะแสดงอาการแตกต่างกันออกไปตามเพศ โดยมีลักษณะดังนี้
อาการหนองในเทียมในเพศชาย โดยครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยในเพศชายจะแสดงอาการดังต่อไปนี้
อาการหนองในเทียมในเพศหญิง ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ มีเพียง 30% ของผู้ป่วยในเพศหญิงที่จะมีอาการ มักแสดงอาการดังต่อไปนี้
สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางอื่น ๆ เช่น ทางทวารหนัก หรือทางปากกับผู้ที่ติดเชื้อ ก็สามารถแสดงอาการได้ คือ เจ็บ ปวด มีเลือดไหล หรือมีหนองที่บริเวณทวารหนัก และรู้สึกเจ็บคอ ไอ หรือมีไข้ สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางปากได้เช่นเดียวกัน
เมื่อสำรวจแล้วพบว่ามีอาการข้างต้น หรือเมื่อรู้ว่าคู่นอนติดเชื้อ ควรหยุดการมีเพศสัมพันธ์และรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษา โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ควรเข้ารับการตรวจหนองในเทียมเป็นประจำทุกปี รวมทั้งผู้ที่มีอายุมากกว่า 25 ปี ที่มีพฤติกรรมมีเพศสัมพันธ์แบบสุ่มเสี่ยง คือมีหลายคู่นอน หรือไม่ป้องกัน
การวินิจฉัยหนองในเทียม
ขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติและพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วย จากนั้นจะทำการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากบริเวณที่มีการร่วมเพศเพื่อส่งตรวจ การเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งสามารถทำได้ 2 วิธี ดังต่อไปนี้
โดยปกติ การวินิจฉัยโรคจะเสร็จสิ้นภายใน 1 วัน และจะทราบผลหลังการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งประมาณ 7-10 วัน ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการหรือพบประวัติทางเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงสูง แพทย์จะให้ทำการรักษาทันที
การรักษาหนองในเทียม
การรักษาหนองในเทียมสามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยรักษาหรือป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายของแบคทีเรีย
การรักษาหนองในเทียม แพทย์จะทำการเลือกใช้และปริมาณยาจะตามอวัยวะที่ติดเชื้อ
หนองในเทียมที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก และคอ
หนองในเทียมเยื่อบุตาในผู้ใหญ่
ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหลังได้รับการรักษาในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยในเพศหญิงอาจมีอาการติดเชื้อหนองในเทียมขั้นรุนแรง แพทย์อาจจ่ายยาด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือด ในระหว่างนี้ผู้ป่วยควรงดการมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ จนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา แม้จะมีการใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน และสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาแบบครั้งเดียว ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และรับประทานยาจนครบตามแพทย์สั่ง ถึงแม้จะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม หลังจากนั้น 3 เดือน ควรกลับไปตรวจอีกครั้ง เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเกิดซ้ำ ร่วมกับการตรวจคัดกรองหาเชื้อในคู่นอนที่เคยมีเพศสัมพันธ์กันภายใน 6 เดือนที่ผ่านมาด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของหนองในเทียม
ภาวะแทรกซ้อนของหนองในเทียมจะแสดงอาการแตกต่างกันออกไปตามเพศของผู้ป่วย โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
ภาวะแทรกซ้อนในเพศชาย
ภาวะแทรกซ้อนในเพศหญิง
การป้องกันหนองในเทียม
การป้องกันหนองในเทียมที่เห็นผลที่ดีที่สุดคือการลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ โดยเฉพาะการรับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือปฏิบัติตัวตามวิธีการดังต่อไปนี้
สั่งซื้อยารักษาโรคหนองในแท้/หนองในเทียม
** ปรึกษาเราได้ที่ JeedRx เภสัชกรปริญญา