ความน่าสนใจของธุรกิจชาบูชาบู
ความง่ายของการเป็นเจ้าของร้านชาบูชาบูนั้น แม้แต่สาวโรงงาน ก็ยังสามารถใช้เวลาหลังเลิกงาน และเงินเก็บเล็กน้อยมาเปิดได้
ตัวอย่างสาวโรงงานนี้ มาจากร้านจำหน่ายอุปกรณ์เปิดร้านชาบูชาบูครบวงจร goody shabu shop ซึ่งเมื่อเธอมองเห็นช่องทางการเปิดร้านชาบูชาบูแล้ว ก็นำเงินเก็บที่มีอยู่ค่อยๆ ซื้ออุปกรณ์ทีละชุด เปิดบริการให้เพื่อนพนักงานที่พักอยู่ย่านเดียวกันได้อิ่มอร่อย จนสามารถขยายต่อเรื่อยๆ
อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า แม้ไม่มีความถนัดด้านการปรุงอาหาร ก็สามารถเปิดร้านชาบูชาบูได้ เพราะด้านรสชาตินั้นลูกค้าเป็นคนรังสรรค์ แม้กระทั่งน้ำจิ้มก็มีขายสำเร็จรูปตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น น้ำจิ้มและน้ำซุป ถือว่าเป็นหัวใจหลักของอาหารประเภทนี้ ฉะนั้นหากทำเอง และมีรสชาติที่แตกต่าง อร่อย ก็จะเป็นตัวดึงดูดลูกค้าได้ดี
- น้ำซุป
- น้ำจิ้ม น้ำจิ้มชาบูชาบู สูตรอร่อยที่ขาดไม่ได้
- เนื้อต่างๆ
- ผัก และเห็ดต่างๆ
- เมนูเส้น
- เครื่องเคียงอื่นๆ
- ของหวาน
- เครื่องดื่ม
ราคาอุปกรณ์ร้านชาบูชาบู
องค์ประกอบสำคัญที่ร้านชาบูชาบูจะขาดไปไม่ได้เลย นอกจากวัตถุดิบอาหาร นั่นก็คือ “อุปกรณ์” ที่ใช้ภายในร้าน ผู้ประกอบการควรศึกษาและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้ครบถ้วนเพื่อสามารถบริการลูกค้าตามจำนวนที่คาดการณ์ไว้ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ราคาค่าอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คำนวณในจำนวน 10 โต๊ะ ไม่รวมค่าสถานที่
การบริหารต้นทุน
การบริหารต้นทุนมักเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการใหม่ๆ คิดไม่ถึง หลายคนมีเงินลงทุนเท่าไหร่ก็นำมาซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น โดยไม่คำนึงถึงเงินหมุนเวียนจนทำให้กิจการสะดุด เพราะฉะนั้นการบริหารเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้กิจการรุ่งดำเนินต่อไปได้ ซึ่งมีสูตรคำนวณง่ายๆ ดังนี้
- ต้นทุนอาหาร ควรอยู่ที่ 25 – 35 เปอร์เซ็นต์
- ต้นทุนด้านแรงงาน ควรอยู่ที่ 15 – 25 เปอร์เซ็นต์
- ต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน ควรอยู่ที่ 15 – 20 เปอร์เซ็นต์
- ต้นทุนผันแปร ควรอยู่ที่ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์
ด้วยต้นทุนเหล่านี้ หากตั้งเป้ายอดขายที่วัน ละ 10,000 บาท
ต้นทุนด้านอาหารควรอยู่ที่ 2,500 – 3,500 บาท
ต้นทุนด้านแรงงาน ควรอยู่ที่ 1,500 – 2,500 บาท
ต้นทุนคงที่ ควรอยู่ที่ 1,500 – 2,500 บาท
ต้นทุนผันแปร ควรอยู่ที่ 1,000 – 1,500 บาท
จากค่าตัวอย่างนี้ หากนำอัตรา ‘ต่ำสุด’ มาคำนวณ จะได้ต้นทุนต่อวันที่ 6,500 บาท ได้กำไร 3,500 บาท
จากค่าตัวอย่างนี้ หากนำอัตรา ‘สูงสุด’ มาคำนวณ จะได้ต้นทุนต่อวันที่ 10,00 บาท เท่ากับไม่ได้กำไรเลย
ฉะนั้นควรบริหารต้นทุนให้ดี อย่าให้มากจนเกินไป แต่ก็อย่าลดต้นทุนจนทิ้งคุณภาพที่ดีไป
สิ่งที่ควรพิจารณาให้ดี คือเรื่องต้นทุนค่าเช่า และค่าแรงพนักงาน เพราะทั้งหมดนี้เป็นต้นทุนที่คงที่ ไม่สามารถลดได้
ทั้งนี้บางคนได้ทำเลร้านที่อยู่ในเมืองและมีค่าเช่าสูง แต่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะขายได้เท่าไร ต่อให้ลงกลางเมืองแต่ค่าเช่าสูง การประสบความสำเร็จก็เป็นไปได้ยาก แต่ถ้าทำเลห่างจากเมืองออกมานิดหน่อย แต่สามารถดึงลูกค้าให้มากินได้ อาศัยว่าค่าเช่าถูกลง ก็จะสามารถอยู่ได้ยั่งยืนกว่า
แนวโน้มการเติบโต สภาวะการแข่งขันในตลาด
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2557 โครงการส่งเสริมการเผยแพร่ร้านอาหารญี่ปุ่นในต่างประเทศ สาขาประเทศไทย หรือ JRO ได้คาดการณ์ว่า อีก 3 – 4 ปีข้างหน้า ไทยจะกลายเป็นประเทศที่มีร้านอาหารญี่ปุ่น ติด 1 ใน 5 ของโลก โดยปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีร้านอาหารญี่ปุ่นเป็นอันดับ 7 ของโลก มีร้านอาหารญี่ปุ่นทั้งสิ้น 1,800 ร้าน (ข้อมูลเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2557) มีอัตราการเพิ่มขึ้นเดือนละ 20 ร้าน โดยเฉพาะในพื้นที่ชอปปิ้งมอลล์ ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อร้านอยู่ที่ 2 ล้านบาท
จากข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า ความนิยมอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย มีแนวโน้มไปได้ดี ส่วนสาเหตุการได้รับความนิยมนั้น JRO ให้เหตุผลว่า…
“ปัจจัยการกระตุ้นให้อาหารญี่ปุ่นเติบโตในตลาดประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. รสชาติความอร่อย 2. ความเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 3. ราคาที่มีความสมเหตุสมผลกับคุณภาพ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับอาหารยุโรปนั้นถือว่าอาหารญี่ปุ่นมีส่วนประกอบของสมุนไพรจากพืช ซึ่งดีต่อสุขภาพมากกว่า บวกกับความใกล้เคียงด้านวัฒนธรรมและการบริโภค ทั้งนี้หากประเทศไทยมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาการเมืองที่น้อยลง รวมถึงผลตอบรับจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และการเข้ามาของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น จากที่คาดการณ์ว่าจะมีสูงถึง 25 ล้านคนในปีนี้ และหากมีการเพิ่มขึ้นเป็น 30-40 ล้านคน จะทำให้ลำดับของไทยเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันอันดับ 1 คือ สหรัฐอเมริกา 1.5 หมื่นสาขา รองมาคือ จีน 4 พันสาขา และไต้หวัน 3 พันสาขา”
ทางด้านแนวโน้มร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทปิ้งย่าง และชาบูชาบูนั้น จากรายงานวิจัย ‘ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้และชาบูชาบูของผู้บริโภคในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร’ ของ ศิรินันท์ อมรประเสริฐชัย สรุปว่า…
ส่วนใหญ่ผู้บริโภคเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 24 – 35 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษา ปริญญาตรีขึ้นไป อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยนต่อเดือน 10,000 – 19,999 บาท และมีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 2 – 5 คน
ลักษณะการใช้บริการ เป็นการใช้บริการร่วมกับเพื่อน โดยตั้งใจไปรับประทานบุฟเฟ่ต์โดยเฉพาะ ใช้บริการในวันเสาร์ – อาทิตย์/ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งจะเลือกร้านประจำ สาขาเดิม ในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา ได้ไปใช้บริการ 1 – 3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะไปรับประทาน 2 – 5 คน ส่วนมากจะใช้เวลาในการรับประทานมากกว่า 1 ชั่วโมง และภายใน 3 เดือนข้างหน้าจะกลับมาใช้บริการอีกแน่นอน
งานวิจัยข้างต้นสอดคล้องกับ รุจิรา ถาวระ (2549) ซึ่งได้ศึกษาเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ของผู้บริโภค กรณีศึกษาภัตตาคาร อาหารญี่ปุ่นชาบูชิ พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมมากับเพื่อนบ่อยที่สุด โอกาสที่ได้มารับประทาน เพราะตั้งใจมารับประทาน โดยมาช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และจำนวนคนที่ร่วมรับประทานด้วย เฉลี่ยครั้งละ 4 คน ใช้เวลารับประทานโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง
ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดนั้นได้ข้อสรุปว่า ผู้ตอบแบบสอบถามชอบร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่มีเนื้อสัตว์ เครื่องดื่ม ชอบอาหารเคียง และขนมหวานที่มีให้เลือกหลากหลายประเภท และชอบผักที่มีความสดใหม่
ด้านราคาได้ข้อสรุปว่า…ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามชอบร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่มีราคาค่าใช้บริการมีราคาเดียว เช่น 299 บาท และราคาเท่ากัน หรือใกล้เคียงร้านอาหารประเภทใกล้เคียงกัน
ด้านช่องทางการจำหน่าย ได้ข้อสรุปว่า…ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามชอบร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่ร้านตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกในการเดินทาง มีที่จอดรถเพียงพอ
ด้านส่งเสริมการขาย…ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามชอบร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่มีบัตรสมาชิก เพื่อรับส่วนลด หรือสะสมยอดเพื่อรับส่วนลด และ
มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านอินเทอร์เน็ต รีวิวในเว็บไซต์ต่างๆ
ด้านบุคคล หรือพนักงาน…ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามชอบร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่พนักงานให้บริการด้วยความเป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส
ด้านลักษณะทางกายภาพของสถานที่ให้บริการ…ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามชอบร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่ร้านอาหารมีความสะอาด มีการจัดการกลิ่นภายในร้านที่ดี
ด้านกระบวนการให้บริการ…ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามชอบร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่มีการเสิร์ฟ หรือเติมอาหารที่ดี รวดเร็ว การเรียกพนักงานระหว่างรับประทานอาหาร และการจัดเก็บทำความสะอาดโต๊ะอาหารเป็นไปอย่างว่องไว
ทั้งนี้ผู้ทำการวิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ว่า…
ผู้มีอายุ 15 – 34 ปี จะมาใช้บริการร่วมกับเพื่อน และผู้บริโภคที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จะมากับครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่มีสมาชิก 2 – 5 คน ดังนั้นผู้ประกอบการควรจัดรายการส่งเสริมการขายให้สอดคล้องกับพฤติกรรม เช่น จัดโปรโมชั่น มา 4 จ่าย 3 เป็นต้น
ผู้บริโภคใช้บริการในวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการควรบริหารจัดการร้านในช่วงเวลานี้ให้ดี อาหารต้องเพียงพอเพื่อรองรับจำนวนคนที่มาก การจัดคิวเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง การจัดการในร้าน เช่น การเสิร์ฟ การเติมอาหาร ต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว บรรยากาศภายในร้านก็จะต้องสะอาดเรียบร้อยและพนักงานที่ให้บริการก็ควรมีความพร้อมในการให้บริการ เป็นต้น
ผู้ใช้บริการมักพบเห็น และรู้จักร้านผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อสิ่งพิมพ์เป็นจำนวนมากที่สุด ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการโฆษณาสื่อสารการตลาดผ่านช่องทางประเภทนี้ เช่น มีการรีวิวผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น